พิธีการแต่งงานในโบสถ์แบบชาวคริสต์
ในวันสำคัญของชีวิตกับพิธีการแต่งงานในโบสถ์แบบนี้ ชาวคริสต์จะต้องเตรียมตัวอย่างไร และต้องทำอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย!
1. เอกสาร
– เอกสารอบรมชีวิตคู่
เอกสารฉบับนี้ได้จาก ‘การอบรมชีวิตคู่’ หรือการเข้าไปเรียนรู้คำสอนที่บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์ว่าด้วยการดำรงชีวิตร่วมกัน ซึ่งจะใช้เวลาในการอบรมไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง ซึ่งคู่สมรสสามารถอบรมได้ที่โบสถ์ที่ใช้จัดพิธีแต่งงาน หรือตามโบสถ์ทั่วไปที่มีการจัดอบรม
– เอกสารรับศีลล้างบาป
เมื่อได้เอกสารอบรมชีวิตคู่แล้ว ต้องนำเอกสารไปยื่นเพื่อขอรับศีลล้างบาป โดยเมื่อผ่านพิธีการดังกล่าวแล้ว จะได้รับเอกสารรับรอง
หมายเหตุ: กรณีที่คู่แต่งงานเป็นชาวต่างชาติจำเป็นที่จะต้องมีใบรับรองสถานภาพโสด และหากเป็นชาวต่างชาติที่ต้องการประกอบพิธีแต่งงานในไทยสามารถขอใบรับรองได้ที่สถานทูตในไทย ส่วนชาวไทยที่ต้องการใบรับรองสถานภาพเพื่อไปแต่งงานที่ต่างประเทศ สามารถขอได้จากที่ว่าการอำเภอ
2. องค์ประกอบของการแต่งงานในโบสถ์
– แหวนแต่งงาน : เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับพิธีแต่งงานเพราะเป็นเหมือนสัญลักษณ์แทนใจ และยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าทั้งคู่มีพันธะผูกพันกันแล้ว นอกจากนี้แหวนแต่งงานยังนิยมใช้เป็นแหวนเกลี้ยงอย่างแหวนทองคำ หรือ แหวนทองคำขาว เพราะทนทานและง่ายต่อการดูแลรักษา โดยเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องเตรียมแหวนแต่งงานเอาไว้คนละวง เพื่อแลกกันในพิธีแต่งงาน
– ตัวแทนถือแหวน : เป็นเด็กผู้ชายอายุไม่เกิน 13 ปี มีหน้าที่เดินถือพานใส่แหวนแต่งงาน ทั้งนี้แหวนบนพานจะเป็นแหวนจริง หรือแหวนสั่งทำไว้สำหรับถือเลยก็ได้
– ตัวแทนถือดอกไม้ : เป็นเด็กผู้หญิงอายุประมาณ 3 – 7 ปี มีหน้าที่โปรยกลีบดอกไม้ตามทางเดินที่เจ้าสาวเดินผ่านและถือช่อดอกไม้นำหน้าขบวนเจ้าสาว
– ตัวแทนจุดเทียน : เป็นตัวแทนชายหญิงอย่างละหนึ่งคน หรือจะเป็นเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายก็ได้ โดยจะต้องจุดเทียนตอนเริ่มพิธี และเทียนต้องไม่ดับก่อนเสร็จสิ้นพิธีการ (เพราะถ้าเทียนดับก่อนจะเป็นลางไม่ดี)
– เพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาว : มักจะเป็นเพื่อนสนิทของเจ้าบ่าวเจ้าสาว โดยเพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาว มักจะแต่งตัวคล้ายกัน ถือช่อดอกไม้ร่วมเป็นสักขีพยานอยู่บนแท่นพิธี
– บาทหลวง : เป็นนักบวชที่จะทำพิธีแต่งงานของคุณให้สมบูรณ์แบบ โดยบาทหลวงจะทำการอ่านพระคัมภีร์ ให้ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวกล่าวคำปฏิญาณรักซึ่งกันและกัน จากนั้นแลกแหวนแทนใจ และประกาศให้ทั้งคู่เป็นสามีภรรยากัน
3. พิธีแต่งงาน
เมื่อตัวแทนจุดเทียนเริ่มจุดเทียนที่อยู่ด้านซ้ายและขวาของบริเวณพิธี จากนั้นวงดนตรีจะเริ่มบรรเลงเพลงขึ้น ทันทีที่ขบวนเจ้าสาวเดินเข้าสู่พิธี และมีตัวแทนถือแหวน ตัวแทนโปรยดอกไม้ พ่อของเจ้าสาวที่เดินเคียงคู่กันมา ตามด้วยเหล่าเพื่อนเจ้าสาวเดินปิดท้าย
ทั้งนี้พ่อเจ้าสาวจะต้องพาเจ้าสาวเดินคล้องแขนไปส่งให้ถึงมือเจ้าบ่าวที่ยืนอยู่บนแท่นพิธีเพื่อเป็นการส่งต่อความดูแลให้เจ้าบ่าวเป็นผู้รับผิดชอบตั้งแต่นี้เป็นต้นไปโดยในระหว่างที่ขบวนของเจ้าสาวเดินเข้าสู่พิธีแต่งงานแขกผู้มีเกียรติจะลุกขึ้นยืนต้อนรับและรอจนกว่าเจ้าสาวจะเดินถึงแท่นพิธี
เมื่อเจ้าบ่าวและเจ้าสาวอยู่พร้อมกัน ณ แท่นพิธีแล้ว บาทหลวงจะเริ่มต้นอ่านคัมภีร์คู่ชีวิต ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตคู่ เพื่อให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาว รับรู้ถึงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติหลังจากแต่งงานเป็นคู่ชีวิตกันแล้ว จากนั้นเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะกล่าวปฏิญาณตน ซึ่งสามารถกล่าวตามบาทหลวง หรือกล่าวปฏิญาณด้วยคำพูดของตัวเองก็ได้
หลังจากกล่าวปฏิญาณตนเสร็จสิ้น คู่บ่าวสาวจะแลกแหวนแต่งงานที่เตรียมมา และลงนามในเอกสารแต่งงาน ที่ทางโบสถ์ออกให้เป็นหลักฐาน จากนั้นให้เจ้าบ่าวจะเดินไปจุดเทียนที่ทางขวา และเจ้าสาวจุดเทียนที่ทางซ้าย แล้วกลับมาจุดเทียนตรงกลางโบสถ์พร้อมกัน โดยมีบาทหลวงเป็นผู้ให้พร พร้อมกับประกาศให้ทั้งคู่เป็นสามีภรรยากันอย่างเป็นทางการ
เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการต่าง ๆ แล้ว เจ้าสาวจะออกมาด้านหน้าโบสถ์ โดยมีแขกที่มางานร่วมโปรยดอกไม้ตลอดทาง จากนั้นเจ้าสาวจะโยนดอกไม้ให้กับแขกที่มาร่วมงาน ซึ่งสาว ๆ ที่ยังไม่ได้แต่งงาน ก็มักจะรอรับดอกไม้จากเจ้าสาวเพื่อเป็นเคล็ด
แม้ชาวคริสต์จะมีความเชื่อที่ว่าการแต่งงานข้ามศาสนานั้นไม่เป็นผลดีเพราะขัดกับพระคัมภีร์ว่าด้วยความเชื่อที่ต่างกันจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตร่วมกันด้วยทำให้คู่แต่งงานที่นับถือศาสนาอื่นอยู่ก่อนแล้วจะต้องเปลี่ยนมานับถือคริสต์ทั้งต้องเรียนคำสอนต่างๆเพื่อให้ความเชื่อของคู่รักเป็นไปในทิศทางเดียวกันเสียก่อน
แต่ในปัจจุบันก็มีการแต่งงานข้ามศาสนามากขึ้น ความเชื่อนี้จึงได้รับการลดหย่อนลงไป และคู่สมรสก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาเดียวกัน
เมื่อเราชาวพุทธที่ฝันว่าอยากแต่งงานในโบสถ์
อ่านมาถึงตรงนี้อาจมีหลายคนสงสัยว่าถ้าเราคนไทยชาวพุทธ 100 % จะสามารถแต่งงานในโบสถ์แบบคริสต์ได้ไหมเพราะดูเหมือนว่างานแต่งแบบคริสต์ก็มีขนบธรรมเนียมที่จริงจังมากเช่นกันและเราขอให้คำตอบตรงนี้เลยว่า
‘ได้อย่างแน่นอน’
เพียงแต่เราไม่ต้องทำพิธีบางอย่าง เช่น การอบรมชีวิตคู่ หรือ ศีลล้างบาป ทั้งนี้ถ้าคุณโชคดีก็อาจจะเจอบาทหลวงที่ยอมทำพิธีให้คุณด้วย
เก็บความทรงจำให้ชัดเจนดั่งเหตุการณ์นี้พึ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน
เพราะเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญของชีวิตที่จะมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ยามคิดถึง ยามทะเลาะ ยามเศร้า ยามสุข จะยังคงมีความทรงจำในวันวานที่เราทั้งคู่ต่างเลือกแล้วว่าจะเดินเคียงคู่กันไปจนสุดทาง
และในวันที่ระลึกถึง เมื่อมองรูปถ่ายเหล่านั้นที่เก็บรอยยิ้มแห่งความสุขไว้ชั่วนิรันดร์
ความสุขนั้นยังคงอยู่กับเรา
จะดีกว่าไหมถ้าเลือกเก็บวันที่ดีที่สุด ไว้ในความทรงจำที่ดีที่สุด
ให้เรื่องราวทั้งหมด ไม่จางหายไป
และในวันที่เราทั้งคู่อาจต้องผ่านความยากลำบากในชีวิต
ให้ภาพถ่ายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เตือนความจำ ว่าครั้งหนึ่งในวันนั้นเรามีความสุขมากเหลือเกิน